เมนู

อรรถกถาอังกุรเปตวัตถุที่ 9



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
อังกุรเปรต จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺส อตฺถาย
คจฺฉาม.
ก็ในที่นี้ ไม่มีอังกุรเปรตก็จริง แต่เพราะความประพฤติ
ของอังกุรเปรตนั้นเกี่ยวเนื่องด้วยเปรต ฉะนั้น ความประพฤติ
ของอังกุรเปรตนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอังกุรเปตวัตถุ.
ในข้อนั้นมีสังเขปกถาดังต่อไปนี้ :- ยังมีกษัตริย์ 11
พระองค์ คือ พระนางอัญชนเทวี และน้องชาย 10 พระองค์ คือ
วาสุเทพ พลเทพ จันทเทพ สุริยเทพ อัคคิเทพ วรุณเทพ อัชชุนะ
ปัชชุนะ ฆฏบัณฑิต และอังกุระ อาศัยครรภ์ของพระนางเทวคัพภา
ผู้พระธิดาของพระเจ้ามหากังสะ ในอสิตัญชนนคร ซึ่งพระเจ้ากังสะ
ปกครองในอุตตราปถชนบท เพราะอาศัยเจ้าอุปสาครผู้โอรส
ของพระเจ้ามหาสาครผู้เป็นใหญ่ในอุตตรมธุรชนบท บรรดา
กษัตริย์เหล่านั้น กษัตริย์ผู้น้องชายมีวาสุเทพเป็นต้น ใช้จักรปลง
พระชนมชีพพระราชาทั้งหมด 63,000 นคร ทั่วชมพูทวีป นับ
ตั้งต้นแต่อสิตัญพชนนครจนถึงกรุงทวารวดีเป็นที่สุด แล้วประทับ
อยู่ในทวารวดีนคร แบ่งรัฐออกเป็น 10 ส่วน แต่ไม่ได้นึกถึง
พระนางอัญชนเทวี ผู้เป็นพระเชษฐภคินี แต่เมื่อระลึกขึ้นได้จึง
กล่าวว่า เราจะแบ่งเป็น 11 ส่วน เจ้าอังกุระน้องชายคนสุดท้อง
ของกษัตริย์เหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงแบ่งส่วนของหม่อมฉันให้แก่

พระเชษฐภคินีเถิด หม่อมฉันจะทำการค้าขายเลียงชีพ ท่านทั้งหลาย
จงสละส่วยในชนบทของตน ๆ ให้แก่หม่อมฉัน กษัตริย์เหล่านั้น
รับพระดำรัสแล้วจึงเอาส่วนของเจ้าอังกุระให้แก่พระเชษฐภคินี
พระราชาทั้ง . พระองค์ประทับอยู่ในกรุงทวารวดี.
ส่วนอังกุรประกอบการค้า บำเพ็ญมหาทานเป็นนิตยกาล
ก็อังกุระนั้นมีทาสผู้หนึ่ง เป็นเจ้าหน้าที่คลังมุ่งหวังประโยชน์
ท่านอังกุระชอบใจ ได้ขอกุลธิดาคนหนึ่งมาให้เขา เมื่อตั้งครรภ์
บุตรเท่านั้น เขาก็ตายไป เมื่อบุตรคนนั้นเกิดแล้ว ท่านอังกุระได้เอา
ค่าจ้างที่ได้ให้แก่บิดาของเขาให้แก่เขา ครั้นเมื่อเด็กนั้นเจริญวัย
จึงเกิดการวินิจฉัยขึ้นในราชสกุลว่า เขาเป็นทาสหรือไม่. พระนาง
อัญชนเทวีได้สดับดังนั้นจึงตรัสเปรียบเทียบโดยแม่โคนม แล้ว
ตรัสว่า แม้บุตรของมารดาผู้เป็นไท ก็ต้องเป็นไทเท่านั้น ดังนี้
แล้วจึงให้พ้นจากความเป็นทาสไป.
แต่เพราะความอาย เด็กจึงไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ จึงได้ไป
ยังโรรุวนคร พาธิดาของช่างหูกคนหนึ่งในนครไป เลี้ยงชีพด้วย
การทอผ้า สมัยนั้น เขาได้เป็นมหาเศรษฐี ชื่อว่า อสัยหะ ใน
โรรุวนคร เขาได้ให้มหาทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คน
เดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย. ช่างหูกนั้นเกิดปีติและโสมนัส
เหยียดแขนขวาออกชี้ให้ดูนิเวศน์ของอสัยหเศรษฐีแก่ชนผู้ไม่รู้จัก
เรือนของเศรษฐีว่า ขอคนทั้งหลายจงไปในที่นั่นแล้วจะได้สิ่งที่
ควรได้. กรรมของเขามาแล้วในพระบาลีนั่นแล.

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้ว. บังเกิดเป็นภุมเทพยาดาที่ต้นไทร
ต้นหนึ่งในมรุภูมิ มือขวาของเขาได้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง ก็ใน
โรรุวนครนั้นนั่นเอง มีบุรุษคนหนึ่ง เป็นคนขวนขวายในทานของ
อสัยหเศรษฐี แต่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ไม่เอื้อเฟื้อต่อการบำเพ็ญบุญ ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นเปรต ไม่
ไกลแต่ที่อยู่ของเทพบุตรนั้น. ก็กรรมที่เขาทำมาแล้วในพระบาลี
นั่นแล ฝ่ายอสัยหมหาเศรษฐีทำกาละแล้ว เข้าถึงความเป็นสหาย
ของท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์.
ครั้นสมัยต่อมา เจ้าอังกุระบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน 500
เล่ม และพราหมณ์คนหนึ่งบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน 500 เล่ม
รวมความว่า ชนทั้ง 2 คน บรรทุกสินค้าด้วยเกวียน 1,000 เล่ม เดินไป
ตามทางมรุกันดาร พากันหลงทาง เที่ยวอยู่ในที่นั้นนั่นเองหลายวัน
จนหมดหญ้า น้ำ และอาหาร เจ้าอังกุระให้ทูตม้าแสวงหาน้ำดื่ม
ทั้ง 4 ทิศ. ลำดับนั้น เทพผู้มีมืออันให้สิ่งที่ต้องการองค์นั้น เห็นชน
เหล่านั้นได้รับความวอดวายอันนั้น จึงคิดถึงอุปการะที่เจ้าอังกุระ
ได้กระทำไว้แก่ตนในกาลก่อน จึงคิดว่าเอาเถอะ บัดนี้เราจักพึง
เป็นที่พึ่งของเจ้าอังกุระนี้ ดังนี้แล้วจึงได้ชี้ให้ดูต้นไทรอันเป็นที่อยู่
ของตน. ได้ยินว่า ต้นไทรนั้น สมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ มีใบทึบ
มีร่มเงาสนิท มีย่านหลายพันย่าน ว่าโดยความยาวกว้างและสูง
ประมาณ 1 โยชน์. เจ้าอังกุระเห็นดังนั้นแล้ว เกิดความหรรษา
ร่าเริง ให้ตั้งข่ายภายในต้นไทรนั้น. เทวดา เหยียบหัตถ์ขวาของ

ตนออก ให้คนทั้งหมดอิ่มหนำด้วยน้ำดื่มเป็นอันดับแรกก่อน ต่อ
แต่นั้น จึงได้ให้สิ่งที่เขาปรารถนาแก่เขา.
เมื่อมหาชนนั้น อิ่มหนำตามความต้องการ ด้วยข้าวและน้ำ
เป็นต้นนานาชนิดอย่างนี้ ภายหลัง เมื่ออันตรายในหนทางสงบลง
พราหมณ์ผู้เป็นพ่อค้านั้น ใส่ใจโดยไม่แยบคาย คิดอย่างนี้ว่า เรา
จากนี้ไปยังแคว้นกัมโพชะแล้ว จักกระทำอะไร เพื่อให้ได้ทรัพย์.
แต่เราจะพาเทพนี้แหละไปด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นสู่ยาน
ไปยังนครของเราเอง ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว เมื่อจะบอกความนั้น
แก่เจ้าอังกุระ จึงกล่าวคาถา 2 คาถาว่า :-
เราทั้งหลายเที่ยวหาทรัพย์ไปสู่แคว้น
กัมโพชะ เพื่อประโยชน์ใด เทพบุตรนี้เป็นผู้ให้สิ่ง
ที่เราอยากได้นั้น พวกเราจักนำเทพบุตรนี้ไป.
หรือจักจับเทพบุตรนี้ ข่มขี่เอาด้วยการวิงวอน
หรือ อุ้มใส่ยาน นำไปสู่ทวารกนครโดยเร็ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยส อตฺถาย แปลว่า เพราะเหตุ
แห่งประโยชน์ใด. บทว่า กมฺโพชํ ได้แก่ แคว้นกัมโพชะ. บทว่า
ธนหารกา ได้แก่ ผู้หาทรัพย์ที่ได้มาด้วยการค้าขายสินค้า. บทว่า
กามทโท ได้แก่ ผู้ให้สิ่งที่ปรารถนาต้องการ. บทว่า ยกฺโข ได้แก่
เทพบุตร. บทว่า นยามเส ได้แก่ จักนำไป. บทว่า สาธุเกน แปลว่า
ด้วยการอ้อนวอน. บทว่า ปสยฺห ได้แก่ ข่มขี่เอาตามอำเภอใจ.

บทว่า ยานํ ได้แก่ ยานอันนำมาซึ่งความสุขสบาย. บทว่า ทฺวารกํ
ได้แก่ทวารวดีนคร. ข้ออธิบาย ในหนหลัง มีดังต่อไปนี้ พวกเรา
ปรารถนาจะจากที่นี้ไปยังแคว้นกัมโพชะ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์
ที่จะพึงให้สำเร็จด้วยการไปนั้น ย่อมสำเร็จในที่นี้เอง. เพราะ
เทพบุตรนี้ เป็นผู้ให้สมบัติที่น่าใคร่ เพราะฉะนั้น เราจึงขออ้อนวอน
เทพบุตรนี้ แล้วอุ้มเทพบุตรนี้ ขึ้นสู่ยาน ตามอนุมัติของเทพบุตร
นั้น หรือถ้าไม่ไปตามที่ตกลงกันไว้ จะข่มขี่เอาตามพลการแล้ว
จับเทพบุตรนั้นมัดแขนไพล่หลังไว้ในยาน ออกจากที่นี้แล รีบไปยัง
ทวารวดีนคร.
ฝ่ายเจ้าอังกุระ อันพราหมณ์พูดอย่างนี้แล้ว ตั้งอยู่ใน
สัปปุริสธรรม เมื่อจะปฏิเสธคำจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
ไม่ควรทักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะการ
ประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ภญฺเชยฺย แปลว่า ไม่พึงตัด.
บทว่า มิตฺตทุพฺโภ ได้แก่ การประทุษร้ายมิตร คือ นำความพินาศ
ให้เกิดแก่มิตรเหล่านั้น. บทว่า ปาปโก ได้แก่ คนไม่ดี คือ คนมัก
ประทุษร้ายต่อมิตร. จริงอยู่ ต้นไม้ที่มีร่มเงาเยือกเย็นอันใด ย่อม
บันเทาความกระวนกระวาย ของคนผู้ถูกความร้อนแผดเผา ใคร ๆ
ไม่ควรคิดร้ายต่อต้นไม้นั้น. ก็จะป่วยกล่าวไปใยถึงหมู่สัตว์เล่า.
ท่านแสดงว่า เทพบุตรนี้ เป็นสัตบุรุษ เป็นบุรพการีบุคคล ผู้บันเทา

ทุกข์ ผู้มีอุปการะมากแก่เราทั้งหลาย เราไม่ควรคิดร้ายอะไร ๆ
ต่อเทพบุตรนั้น โดยที่แท้เทพบุตรนั้นเราควรบูชาทีเดียว
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น คิดว่า มูลเหตุของประโยชน์ เป็นเหตุ
กำจัดความคดโกง ดังนี้แล้ว อาศัยทางอันเป็นแบบแผน ตั้งอยู่
ในฝ่ายขัดแย้งต่อเจ้าอังกุระ จึงกล่าวคาถาว่า :-
บุคคลอาศัยนั่งนอน ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
พึงตัดแม้ลำต้นของต้นไม้นั้นได้ ถ้ามีความต้อง
การเช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ เจ ตาทิโส สิยา ความว่า
ถ้าพึงมีความต้องการด้วยทัพพสัมภาระเช่นนั้น, อธิบายว่า แม้
ลำต้นของต้นไม้นั้นก็ควรตัด จะป่วยกล่าวไปใยถึงกิ่งเป็นต้นเล่า.
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าอังกุระเมื่อจะประคอง
เฉพาะสัปปุริสธรรม จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
บุคคลอาศัยนั่งนอน ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น เพราะการ
ประทุษร้ายต่อมิตร เป็นความเลวทราม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส ปตฺตํ ภินฺเทยฺย ความว่า
ไม่พึงทำแม้เพียงใบใบหนึ่ง ของต้นไม้นั้นให้ตกไป จะป่วยกล่าว
ไปใย ถึงกิ่งเป็นต้นเล่า.
พราหมณ์เมื่อจะประคองวาทะของตนแม้อีก จึงกล่าวคาถา
ว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่นเงาของต้นไม้ใด
พึงถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งรากได้ ถ้าพึงประสงค์
เช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมูลมฺปิ ตํ อพฺพุเห ความว่า
พึงถอน คือพึงรื้อขึ้นซึ่งต้นไม้นั้นพร้อมทั้งราก คือ พร้อมด้วยราก
ในที่นั้น.
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าอังกุระมีความประสงค์
จะทำแบบแผนนั้นให้ไร้ประโยชน์อีก จึงได้กล่าวคาถา 3 คาถา
เหล่านี้ว่า :-
ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใด
ตลอดราตรีหนึ่ง หรือพึงได้ข้าวน้ำในที่ใด ไม่ควร
มีจิตคิดร้ายต่อบุคคลนั้น. ความเป็นผู้กตัญญู อัน
สัตบุรุษทั้งลาย สรรเสริญแล้ว บุคคลพึงพัก
อาศัย ในเรือนของบุคคลใด แม้เพียงคืนเดียว
พึงได้รับการบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ไม่ควรมีจิต
คิดประทุษร้าย ต่อบุคคลนั้น บุคคลมีมือไม่
เบียดเบียน ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตร
บุคคลใด ทำความดีไว้ในปางก่อน ภายหลัง
เบียดเบียนด้วยความชั่ว ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคน
อกตัญญู ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส แปลว่า ต่อบุคคลใด. บทว่า
เอกรตฺติมฺปิ ความว่า พึงอยู่อาศัยในเรือนอย่างเดียว แม้เพียงราตรี
เดียว. บทว่า ยตฺถนฺนปานํ ปุริโส ลเภถ ความว่า บุรุษบางคน พึงได้
โภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือน้ำ ในสำนักของ
ผู้ใด. บทว่า น ตสฺส ปาปํ มนสาปิ จินฺตเย ความว่า บุคคลไม่พึง
มีจิตคิดร้ายต่อสิ่งที่ไม่ดี คือสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่อบุคคลนั้น ได้แก่
เป็นผู้ไม่รักใคร่ จะป่วยกล่าวไปใยถึงกายและวาจาเล่า. หากมี
คำถามว่า ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะความเป็นผู้
กตัญญู อันสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า
ความเป็นผู้กตัญญู อันบุรุษผู้สูงสุด มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญ
แล้ว.
บทว่า อุปฏฺฐิโต แปลว่า พึงให้เข้าไปนั่งใกล้ คือ พึง
อุปัฏฐากด้วยข้าวและน้ำ เป็นต้นว่า ท่านจงรับสิ่งนี้ ท่านจงบริโภค
สิ่งนี้. บทว่า อทุพฺภปาณี ได้แก่ ผู้มีมือไม่เบียดเบียน คือ ผู้สำรวม
มือ. บทว่า ทหเต มิตฺตทุพิภึ ความว่า ย่อมแผดเผาคือ ย่อมทำ
บุคคลผู้มักประทุษร้ายต่อมิตรนั้นให้พินาศ ว่าโดยอรรถ ชื่อว่า
ย่อมแผดเผา ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้อันคนอื่น
กระทำความผิดในบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอัธยาศัยที่เป็นประโยชน์
ผู้ไม่ประทุษร้าย คือ นำมาซึ่งความพินาศแก่บุคคลนั้นนั่นแล. โดย
ไม่แปลกกัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า :-

ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษ
ร้าย ผู้เป็นคนบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ความชั่วย่อมกลับมาถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นคนพาลแน่
แท้ เหมือนธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม
ฉะนั้น.
บทว่า โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ ความว่า บุคคลใด มีความดี
อันบุคคลดีบางคน กระทำให้ คือ การทำอุปการะให้. บทว่า
ปจฺฉา ปาเปน หึสติ ความว่า ต่อมาภายหลัง เบียดเบียนบุคคลนั้น
ผู้กระทำอุปการะก่อน ด้วยธรรมชั่ว คือ กรรมไม่ดี ได้แก่ ด้วย
กรรมที่ไร้ประโยชน์. บทว่า อลฺลปาณิหโต โปโส ความว่า ผู้มี
ฝ่ามืออันชุ่ม คือ ผู้มีฝ่ามืออันเปียก ได้แก่ มีฝ่ามืออันล้างสะอาดแล้ว
เป็นการทำอุปการะก่อน เพราะกระทำอุปการะ เบียดเบียนคือ
บีบคั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง อีกอย่างหนึ่ง ถูกเบียดเบียน
ด้วยการเบียดเบียนบุคคลผู้กระทำอุปการะก่อนนั้น ชื่อว่า ผู้มีฝ่ามือ
อันเปียกเบียดเบียน ได้แก่ คนอกตัญญู. บทว่า น โส ภทฺรานิ
ปสฺสติ
ความว่า บุคคลนั้น คือ บุคคลตามที่กล่าวกลัว ย่อมไม่เห็น
ย่อมไม่ประสบ คือ ย่อมไม่ได้ในโลกนี้ และในบัดนี้.
พราหมณ์นั้น ถูกเจ้าอังกุระผู้ยกย่องสัปปุริสธรรม กล่าว
ข่มขู่อย่างนี้ ได้เป็นผู้นิ่งเงียบ. ฝ่ายเทพบุตร ฟังคำและคำโต้ตอบ
ของตนทั้ง 2 นั้น แม้จะโกรธต่อพราหมณ์ ก็คิดเสียว่า ช่างเถอะ
ภายหลังเราจักรู้กรรมที่ควรทำแก่พราหมณ์ ผู้ประทุษร้ายนี้

เมื่อจะแสดงภาวะที่ตนอันใคร ๆ ข่มขู่มิได้ เป็นอันดับแรก จึงกล่าว
คาถาว่า :-
ไม่เคยมีเทวดา หรือมนุษย์ หรืออิสรชน
คนใด จะมาข่มขู่เราได้โดยง่าย เราเป็นเทพเจ้า
ผู้มีอิทธิฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไปได้ไกล
สมบูรณ์ด้วยรัศมีและกำลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทเวน วา ได้แก่ จะเป็นเทพ
องค์ใด องค์หนึ่งก็ตามที. แม้ในบทว่า มนุสฺเสน วา นี้ ก็นัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า อิสฺสริเยน วา ความว่า อันผู้เป็นใหญ่ในหมู่
เทพก็ดี อันผู้เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ก็ดี. ในความเป็นใหญ่ 2 อย่างนั้น
ชื่อว่า ความเป็นใหญ่ในหมู่เทพ ได้แก่เทวฤทธิ์ ของท้าวจาตุมหาราช
ท้าวสักกะ และท้าวสุยามะ เป็นต้น, ชื่อว่า ความเป็นใหญ่ในหมู่
มนุษย์ได้แก่บุญฤทธิ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นต้น. เพราะฉะนั้น
ท่านจึงสงเคราะห์เอาเทวดาและมนุษย์ผู้มีอานุภาพมากด้วย
อิสริยศักดิ์. จริงอยู่ เทพแม้ผู้มีอานุภาพมาก เมื่อไม่มีมนุษย์
ผู้อันผลแห่งบุญสนับสนุนตน ย่อมไม่อาจเพื่อจะครอบงำความวิบัติ
ในการประกอบความเพียร จะป่วยกล่าวไปใยถึงบุคคลนอกนี้
เล่า. ศัพท์ว่า หํ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า อดทนไม่ได้. บทว่า
น สุปฺปสยฺโห แปลว่า อันใคร ๆ กำจัดไม่ได้. บทว่า ยกฺโขหมสฺมิ
ปรมิทฺธิปตฺโต ความว่า เพราะผลแห่งบุญของตนเราจึงเข้าถึง
ความเป็นเทพบุตร คือ เราเป็นเทพบุตรแท้ ๆ ไม่ใช่เทพบุตร

เทียม. โดยที่แท้ เรามีฤทธิ์อย่างยิ่ง คือ ประกอบด้วยฤทธิ์ของ
เทพบุตรอันสูงยิ่ง. บทว่า ทูรงฺคโม ได้แก่ สามารถ เพื่อจะไป
ยังที่ไกลโดยทันทีทันใด. ด้วยคำว่า วณฺณพลูปปนฺโน นี้ เทพบุตร
แสดงเฉพาะภาวะที่ตนไม่ถูกใคร ๆ ข่มขู่ด้วยการประกอบมนต์
เป็นต้น ด้วยบททั้ง 3 ว่า เข้าถึง คือประกอบด้วยรูปสมบัติและ
ด้วยพลังกาย. จริงอยู่ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยรูป เป็นผู้อันบุคคล
เหล่าอื่นนับถือมาก. เพราะอาศัยรูปสมบัติ จึงไม่ถูกวัตถุที่เป็น
ข้าศึกต่อกัน ฉุดคร่าไปได้เลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว วรรณ-
สมบัติว่า เป็นเหตุที่ใคร ๆ ข่มขู่ไม่ได้.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป อังกุระพ่อค้า และเทพบุตร ได้ทำถ้อยคำ
และการโต้ตอบกันว่า :-
ฝ่ามือของท่าน มีสีดังทองคำทั่วไป ทรง
ไว้ซึ่งวัตถุที่บุคคลอื่นปรารถนา ด้วยนิ้วทั้ง 5
เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย วัตถุมีรส
ต่าง ๆ ย่อมไหลออกจากฝ่ามือของท่าน ข้าพเจ้า
เข้าใจว่า ท่านเป็นท้าวสักกะ

รุกขเทวดาตอบว่า :-
เราไม่ใช่เทพเจ้า ไม่ใช่คนบรรพ์ ไม่ใช่
ท้าวสักกะปุรินททะ ดูก่อนเจ้าอังกุระ ท่านจงทราบ
ว่า เราเป็นเปรต จุติจากโรรุวนคร มาอยู่ที่ต้นไทร
นี้.

อังกุระพ่อค้าถามว่า :-
เมื่อก่อน ท่านอยู่ในโรรุวนคร ท่านมีปกติ
อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร ผลบุญสำเร็จ
ที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหมจรรย์อะไร

รุกขเทวดาตอบว่า :-
เมื่อก่อนเราเป็นช่างหูก อยู่ในโรรุวนคร
เป็นคนกำพร้า เลี้ยงชีพโดยความลำบากนัก เรา
ไม่มีอะไรจะให้ทาน เรือนของเราอยู่ใกล้เรือน
ของอสัยหเศรษฐี ซึ่งเป็นคนศรัทธา เป็นทานบดี
มีบุญอันทำแล้ว เป็นผู้ละอายต่อบาป พวกยาจก
วณิพก มีนามและโคตรต่าง ๆ กัน ไปบ้านของ
เรานั้น พากันถามถึงเรือนของอสัยหเศรษฐีกะเรา
ว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกเรา
จะไปทางไหน ทานเขาให้กันที่ไหน เราถูกพวก
ยาจกวณิพกถามแล้ว ได้ยกมือเบื้องขวาชี้บอก
เรือนอสัยหเศรษฐีแก่ยาจกวณิพกเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลาย จงไปทางนี้ ความเจริญจักมีแก่ท่าน
ทั้งหลาย ทานเขาให้อยู่ที่นั่น เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือ
ของเรา จึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นที่ไหลออก
แห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จ ที่ฝ่ามือ
ของเรา เพราะพรหมจรรย์นั่น.

อังกุระพ่อค้าถามว่า :-
ได้ยินว่า ท่านไม่ได้ให้ทานแก่ใคร ๆ ด้วย
มือทั้งสองของตน เป็นแต่เพียงอนุโมทนาทาน
ของคนอื่น ยกมือชี้บอกทางให้ เพราะเหตุนั้น
ฝ่ามือของท่าน จึงให้สิ่งที่น่าใคร่ เป็นที่ไหลออก
แห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของ
ท่าน เพราะพรหมจรรย์นั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อสัยหเศรษฐีผู้เลื่อมใสได้ให้ทานด้วยมือทั้งสอง
ของตน ละร่างกายมนุษย์แล้ว ไปทางทิศไหน
หนอ.
รุกขเทวดาตอบว่า :-
เราไม่รู้ทางไปหรือทางมาของอสัยห-
เศรษฐี ผู้เป็นเจ้าของแห่งทาน ผู้มีรัศมีซ่านออก
จากตน แต่เราได้ฟังมาในสำนักของท้าวเวส-
วัณว่า อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหายแห่ง
ท้าวสักกะ
อังกุระพ่อค้ากล่าวว่า :-
บุคคลควรทำความดีแท้ ควรให้ทานตาม
สมควร ใครได้เห็นฝ่ามือ อันให้สิ่งที่น่าใคร่แล้ว
จักไม่ทำบุญเล่า เราไปจากที่นี้ ถึงทวารกะนคร
แล้ว จักรีบให้ทานอันจักนำความสุขมาให้แก่เรา

แน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ
และสะพานในที่เดินไปได้ยาก เป็นทานดังนี้.

รวมเป็นคาถากล่าวและกล่าวโต้ตอบกัน มีอยู่ 15 คาถา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาณิ เต ได้แก่ ฝ่ามือขวาของท่าน.
บทว่า สพฺพโส วณฺโณ ได้แก่ มีวรรณะดุจทองคำทั้งหมด. บทว่า
ปญฺจธาโร ความว่า ชื่อว่า ปัญจธาระ เพราะมีการทรงไว้ซึ่ง
วัตถุอันบุคคลเหล่าอื่นปรารถนาด้วยนิ้วทั้ง 5. บทว่า มธุสฺสโว
แปลว่า เป็นที่หลั่งออกซึ่งรสอันอร่อย. ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า
นานารสา ปคฺฆรนฺติ ความว่า เป็นที่ไหลออกแห่งรสต่าง ๆ ต่าง
ด้วยรสมี รสหวาน รสขม และรสฝาด เป็นต้น. จริงอยู่ ท่านกล่าว
ไว้ว่า รสมีรสหวานเป็นต้น ย่อมไหลออกจากมือ ที่หลั่งซึ่งของเคี้ยว
และของบริโภคต่าง ๆ อันสมบูรณ์ด้วยรส มีรสหวานเป็นต้น อัน
ให้ซึ่งความปรารถนาของเทพบุตร. บทว่า มญฺเญหํ ตํ ปุรินฺททํ
ความว่า ข้าพเจ้า เข้าใจว่า ท่านเป็นท้าวสักกะ, อธิบายว่า ข้าพเจ้า
เข้าใจว่า ท่าน เป็นท้าวสักกะเทวราช ผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้
บทว่า นามฺหิ เทโว ความว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่เทพเจ้าที่ปรากฏ
มีท้าวเวสวัณ เป็นต้น. บทว่า น คนฺธพฺโพ ความว่า ทั้งไม่ใช่
ข้าพเจ้าเป็นคนธรรพ์. บทว่า นาปิ สกฺโก ปุรินฺทโท ความว่า
ทั้งไม่ใช่ ข้าพเจ้า เป็นท้าวสักกะเทวราชอันใด นามว่า ปุรินททะ
เพราะได้เริ่มตั้งทาน ในอัตตภาพก่อน คือในกาลก่อน. เพื่อจะ
หลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็ท่านเป็นอะไร รุกขเทวดา จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า ดูก่อน อังกุระท่านจงทราบว่า เราเป็นเปรต, ดูก่อน
อังกุระ ท่านจงรู้ว่า ข้าพเจ้าตกอยู่ในหมู่เปรต คือ ท่านจงทรงจำ
ข้าพเจ้าว่า เป็นเปรตผู้มีฤทธิ์มากตนหนึ่ง. บทว่า โรรุวมฺนหา อิธาคตํ
ความว่า ข้าพเจ้า จุติจากโรรุวนครแล้วมาในที่นี้ คือที่ต้นไทรนี้
ในทางทรายกันดารด้วยการอุบัติ คือ บังเกิด ในที่นี้.
บทว่า กึ สีโล กึ สมาจาโร โรรุวสฺมึ ปุเร ตฺวํ ความว่า
เมื่อก่อนคือ ในอัตตภาพก่อน ท่านอยู่ที่โรรุวนคร เป็นผู้มีปกติ
อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร คือ ท่านสมาทานศีลเช่นไร ซึ่ง
มีลักษณะให้กลับจากบาป มีความประพฤติเช่นไร ด้วยการประพฤติ
มีลักษณะบำเพ็ญบุญที่ให้เป็นไปแล้ว อธิบายว่า ท่านเป็นผู้ประพฤติ
เช่นไร ในการบำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น. บทว่า เกน เต พฺรหฺมจริเยน
ปุญฺญํ ปาณิมฺหิ อิชฺฌติB> ความว่า ผลบุญในฝ่ามือของท่านนี้ คือ
เห็นปานนี้ ย่อมสำเร็จ คือ ย่อมเผล็ดผลในบัดนี้ เพราะความ
ประพฤติประเสริฐเช่นไร ท่านจงบอกเรื่องนั้น. จริงอยู่ ผลบุญ
ท่านประสงค์เอาว่า บุญในที่นี้ ด้วยการลบบทเบื้องหลัง. จริงอยู่
ต่อแต่นั้นผลบุญนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า บุญ ในประโยค
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้ ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะ
เหตุแห่งการสมาทานกุศลธรรม.
บทว่า ตุนฺนวาโย แปลว่า เราเป็นนายช่างหูก. บทว่า
สุกิจฺฉวุตฺตี ได้แก่ เป็นผู้เลี้ยงชีพโดยความลำบากนัก คือ เป็นผู้
เลี้ยงชีพโดยความลำบากอย่างยิ่ง. บทว่า กปโณ แปลว่า เป็นคน

กำพร้า อธิบายว่า เป็นคนยากไร้. บทว่า น เม วิชฺชติ ทาตเว
ความว่า เราไม่มีอะไร ที่ควรจะพึงให้ เพื่อจะให้แก่สมณะพราหมณ์
ผู้เดินทาง, แต่เรามีความคิดที่จะให้ทาน.
บทว่า นิเวสนํ แปลว่า เรือน, หรือ ศาลาพักทำการงาน.
บทว่า อสยฺหสฺส อุปนฺติเก ได้แก่ ใกล้เรือนของมหาเศรษฐี
ชื่อว่า อสัยหะ. บทว่า สทฺธสฺส ความว่า ประกอบด้วยความเชื่อ
กรรมและผลแห่งกรรม. บทว่า ทานปติโน ความว่า เป็นผู้เป็นใหญ่
ในทาน ด้วยสมบัติเป็นเหตุบริจาคไม่ขาดระยะ และด้วยการครอบงำ
ความโลภ. บทว่า กตปุญฺญสฺส ได้แก่ ผู้มีสุจริตกรรมที่ทำไว้ใน
กาลก่อน. บทว่า ลชฺชิโน ได้แก่ ผู้มีความละอายต่อบาปเป็นสภาพ.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเรือนของเรานั้น. บทว่า ยาจนกา
ยนฺติ
ความว่า คนยาจก ปรารถนาจะขออะไร ๆ กะอสัยหเศรษฐี
จึงพากันมา. บทว่า นานาโคตฺตา ได้แก่ ผู้แสดงอ้างถึงโคตร
ต่าง ๆ. บทว่า วณิพฺพกา ได้แก่ พวกวณิพก. ชนเหล่าใด เที่ยว
ประกาศถึงผลบุญเป็นต้นของทายก และความที่ตนมีความต้องการ
โดยมุ่งถึงเกียรติคุณเป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ในบทว่า เต จ มํ ตตฺถ
ปุจฉนฺติ
นั้น เป็นเพียงนิบาต. คนยาจกเป็นต้นเหล่านั้น พากัน
ถามถึงเรือนของอสัยหเครษฐีกะเรา. จริงอยู่ ท่านผู้คิดอักษร
ย่อมปรารถนากรรมทั้ง 2 อย่าง ในฐานะเช่นนี้.
บทว่า กตฺถ คจฺฉาม ภทฺทํ โว กตฺถ ทานํ ปทียติ เป็นบท
แสดงถึงอาการถามของยาจกเหล่านั้น. จริงอยู่ ในที่นี้มีอธิบาย

ดังนี้ว่า :- ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกเราได้ยินว่า
อสัยหเศรษฐีย่อมให้ท่าน ดังนี้ จึงพากันมา, เขาให้ทานกันที่ไหน
หรือว่า เราจะไปทางไหน ผู้ที่ไปทางไหน สามารถจะได้ทาน.
บทว่า เตสาหํ ปุฏฺโฐ อกฺขามิ ความว่า ถูกพวกคนเดินทางเหล่านั้น
ถามถึงฐานะที่จะได้อย่างนี้ จึงให้เกิดความคารวะขึ้นว่า เราเป็น
ผู้ไม่สามารถเพื่อจะให้อะไร ๆ แก่คนเช่นนี้ ในบัดนี้ได้ เพราะ
ไม่เคยทำบุญไว้ในปางก่อน แต่เราจะแสดงโรงทานแก่คนเหล่านี้
ให้เกิดปีติขึ้น ด้วยการบอกอุบายแห่งการได้ แม้ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ ก็จะประสบบุญเป็นอันมากได้ จึงเหยียดแขนขวาออกชี้
บอกเรือนอสัยหเศรษฐีแก่คนเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น รุกขเทวดา
จึงกล่าวว่า ท่านจงประคองแขนขวา ดังนี้เป็นต้น
บทว่า เตน ปาณิ กามทโท ความว่า ด้วยเหตุเพียงการ
อนุโมทนาทานที่คนอื่นทำแล้ว โดยการประกาศทานขอคนอื่นนั้น
โดยเคารพ บัดนี้ ฝ่ามือของเราเป็นเสมือนต้นกัลปพฤกษ์ และเป็น
เหมือนต้นทิพยพฤกษ์ ให้สิ่งที่น่าใคร่ คือให้สิ่งที่ต้องการที่ปรารถนา
ชื่อว่าให้สิ่งที่น่าใคร่และน่าปรารถนา. ก็เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือ
ของท่านจึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นที่หลั่งไหลออกแห่งรสอันอร่อย
คือ เป็นที่สละออกซึ่งวัตถุที่น่าปรารถนา.
ศัพท์ว่า กิร ในบทว่า น กิร ตฺวํ อทา ทานํ นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถแห่งอนุสสวนัตถะ. ได้ยินว่า ท่านไม่สละสิ่งของของตน
คือ ท่านไม่ได้ให้ทานอะไร ๆ แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือแก่สมณะ ด้วย

ฝ่ามือของตน คือ พร้อมด้วยมือของตน. บทว่า ปรสฺส ทานํ
อนุโมทนาโน
ความว่า ท่านเมื่ออนุโมทนาทานของคนอื่น ที่คนอื่น
กระทำอย่างเดียว เท่านั้นอยู่ว่า โอ ทานเราให้เป็นไปแล้ว.
บทว่า เตน ปาณิ กามทโท ความว่า เพราะเหตุ ฝ่ามือ
ของท่านจึงให้สิ่งที่น่าใคร่อย่างนี้ อธิบายว่า โอ น่าอัศจรรย์จริง
หนอ คติ แห่งบุญทั้งหลาย.
บทว่า โย โส ทานมทา ภนฺเต ปสนฺโน สกปาณิภิ นี้
รุกขเทวดาเรียกเทพบุตร ด้วยความเคารพว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อสัยหเศรษฐี ผู้มีความเลื่อมใส ได้ให้ทานด้วยฝ่ามือของตน อธิบาย
ว่า อันดับแรก ผลเช่นนี้คือ อานุภาพเช่นนี้ของท่าน ผู้อนุโมทนา
ทานที่บุคคลอื่นทำไว้แล้ว แต่อสัยหมหาเศรษฐีนั้น ได้ให้มหาทาน
คือ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ให้มหาทานเป็นไปในกาลนั้น ด้วยทรัพย์
หลายพัน. บทว่า โส หิตฺวา มานุสํ เทหํ ความว่า ท่านละอัตภาพ
มนุษย์ในที่นี้. บทว่า กึ ได้แก่ ทางทิศไหน. คัพท์ว่า นุ ในคำว่า
นุ โส นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ทิสตํ คโต แปลว่า ไปสู่ทิศ
คือที่. รุกขเทวดาถามถึงอภิสัมปรายภพของอสัยหเศรษฐีว่า คติ
คือความสำเร็จของท่านเศรษฐีนั้นเป็นอย่างไร.
บทว่า อสยฺหสาหิโน ความว่า ชื่อว่า อสัยหเศรษฐี เพราะ
อดกลั้นธุระของสัตบุรุษผู้จำแนกการบริจาคเป็นต้น ซึ่งคนเหล่าอื่น
ผู้มีความตระหนี่คือ ผู้อันความโลภครอบงำ ไม่สามารถเพื่อจะ
อดกลั้นได้. บทว่า องฺคีรสสฺส ผู้มีรัศมีซ่านออกจากตน. จริงอยู่

บทว่า รโส เป็นชื่อของความโชติช่วง. ได้ยินว่า ปีติและโสมนัส
อย่างยิ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่อสัยหเศรษฐีนั้น เพราะเห็นพวกยาจก
กำลังเดินมา คือ สีหน้าย่อมผ่องใส. รุกขเทวดานั้น กล่าวอย่างนี้
เพราะทำเขาให้ประจักษ์แก่ตน. บทว่า คตึ อาคตึ วา ความว่า
หรือว่า คติของอสัยหเศรษฐีนั้นว่า เขาจาโลกนี้แล้วไปสู่คติ
ชื่อโน้น เราไม่เข้าใจการมาว่าก็หรือว่า เขาจากที่นั้นแล้ว จักมา
ในที่นี้ในกาลชื่อโน้น, นี้ ไม่ใช่วิสัยของเรา. บทว่า สุตญฺจ เม
เวสฺสวณสฺส สนฺติเก
ความว่า แต่เราได้ฟังข้อนี้ มาในสำนักของ
ท้าวเวสวัณมหาราช ผู้ไปสู่ที่อุปัฏฐาก. บทว่า สกฺกสฺส
สหพฺยตํ คโต อสยฺโห
ความว่า อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหาย
ของท้าวสักกะจอมเทพ, อธิบายว่า บังเกิดในภพชั้นดาวดึงส์.
บทว่า อลเมว กาตุํ กลฺยาณํ ความว่า คุณงามความดี
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือบุญกุศล สมควร คือ เหมาะสมที่จะต้องทำ
แท้ทีเดียว. ก็ในคุณงามความดีนั้น สิ่งที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง ควร
ทำดีกว่า เพื่อจะแสดงสิ่งนั้น อังกุระพ่อค้าจึงกล่าวว่า ควรจะให้
ทานตามสมควร. ควรแท้ที่จะให้ทาน อันเหมาะสมแก่สมบัติและ
กำลังของตน. ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ว่า เห็นฝ่ามืออันให้สิ่ง
ที่น่าปรารถนา. เพราะเห็นมือนี้ที่เห็นว่า ให้สิ่งที่น่าปรารถนา
ด้วยเหตุมีการอนุโมทนาส่วนบุญที่คนอื่นทำแล้วเป็นเบื้องต้น และ
ด้วยเหตุเพียงการบอกหนทางเป็นที่เข้าไปสู่เรือนแห่งท่านทานบดี.

บทว่า โก ปุญฺญํ น กริสฺสติ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ใครเสมือนกับเรา
จักไม่ทำบุญอันเป็นที่พึ่งของตน.
อังกุรพาณิช ครั้นแสดงความเอื้อเฟื้อในการบำเพ็ญบุญ
โดยไม่กำหนดแน่นอนอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงกำหนดแน่นอน
ถึงการบำเพ็ญบุญนั้นในตน จึงกล่าวคาถา 2 คาถา มีอาทิว่า
โส หิ นูน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่เรานั้น. ศัพท์ว่า หิ
เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งอวธารณะ. ศัพท์ว่า นูน เป็นนิบาตลงใน
อรรถว่าปริวิตก. บทว่า อิโต คนฺตฺวา ความว่า เราไปจากภูมิแห่ง
เทวดานี้แล้ว. บทว่า อนุปฺปตฺวาน ทฺวารกํ ได้แก่ ถึงทวารวดีนคร
โดยลำดับ. บทว่า ปฏฺฐปยิสฺสามิ แปลว่า จักให้เป็นไป.
เมื่ออังกุระพาณิช กระทำปฏิญญาว่า เราจักให้ทานอย่างนี้
แล้ว เทพบุตรมีใจยินดี กล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้เสีย
สละ. จงให้ทานเถิด ส่วนเราจักทำหน้าที่เป็นสหายของท่าน ไทยธรรม
ของท่านจักไม่ถึงความหมดเปลืองด้วยประการใด เราจักกระทำ
โดยประการนั้น ดังนี้แล้ว จึงให้อังกุระพาณิชนั้น อาจหาญในการ
บำเพ็ญทานแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์พาณิช ได้ยินว่าท่าน
ปรารถนาจะนำคนเช่นเรา ไปด้วยพลการ ช่างไม่รู้จักประมาณ
ของตัว ดังนี้แล้ว จึงให้สินค้าของอังกุระพาณิชนั้น อันตรธานไป
แล้ว จึงขู่ให้อังกุระพาณิชนั้นกลัว ด้วยอาการที่สะพึงกลัวว่าเป็น
ยักษ์. ลำดับนั้น อังกุระพาณิช จึงอ้อนวอนกะเทพบุตรนั้น โดย

ประการต่าง ๆ เมื่อจะให้พราหมณ์ขมาโทษ ให้เลื่อมใส จึงทำสินค้า
ทั้งหมดให้กลับเป็นปกติ เมื่อใกล้ค่ำ จึงละเทพบุตรไปอยู่ เห็น
เปรตตนหนึ่งที่เห็นเช้าน่ากลัวยิ่งนัก ในที่ไม่ไกลแห่งเทพบุตรนั้น
เมื่อจะถามถึงกรรมที่เปรตนั้นกระทำ จึงกล่าวคาถาว่า :-
เพราะเหตุไร นิ้วมือของท่านจึงงอหงิก
ปากของท่านจึงเบี้ยว และนัยน์ตาทะเล้นออก
ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณา แปลว่า งอหงิก คือ หงิกกลับ
ได้แก่ ไม่ตรง. บทว่า กุณลีกตํ ได้แก่ เบี้ยว คือบิด โดยวิการ
แห่งปาก. บทว่า ปคฺฆรํ ได้แก่ ไม่สะอาด ไหลออกอยู่.
ลำดับนั้น เปรต ได้กล่าวคาถา 3 คาถา เเก่อังกุระพาณิช
นั้นว่า :-
เราเป็นคฤหบดี ตั้งไวในการให้ทาน ใน
โรงทานของท่านคฤหบดีผู้มีอังคีรส ผู้มีศรัทธา
เป็นฆราวาสครอบครองเรือน เห็นยาจกผู้มีความ
ประสงค์ด้วยโภชนะมาที่โรงทานนั้น ได้หลีกไป
ทำการบุ้ยปากอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง เพราะกรรมนั้น
นิ้วมือของเราจึงงอหงิก ปากของเราจึงเบี้ยว
แล้ว.

บรรดาเหล่านั้น ด้วยบทว่า อุงฺคีรสสฺส เป็นต้น เทพบุตร
ระบุถึงอสัยหเศรษฐี. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้อยู่
ครองเรือน. บทว่า ทานวิสฺสคฺเค ได้แก่ ในโรงทาน คือ ในที่
เป็นที่บริจาคทาน. บทว่า ทาเน อธิกโต อหุํ ความว่า เริ่มตั้ง
คือ ตั้งไว้ในการบริจาคไทยธรรม คือ ในการบำเพ็ญทาน.
บทว่า เอกมนฺตํ อปกฺกมฺม ความว่า ผู้ขวนขวายในทาน
เห็นยาจกผู้ต้องการโภชนาหารเดินมา ได้หลีกไปจากโรงทานแล้ว
ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง เกิดปีติและโสมนัส มีหน้าผ่องใส พึงให้
ทานด้วยมือของตน หรือใช้คนอื่นผู้สมควรให้ให้ แต่เราไม่ได้กระทำ
อย่างนั้น เห็นยาจกเดินมาแต่ไกลไม่แสดงตน หลีกไปอยู่ ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง. บทว่า อกาสึ กุณลึ มุขํ ความว่า เราได้กระทำปากเบี้ยว
ปากบุ้ย.
บทว่า เตน ความว่า เพราะในกาลนั้น เราถูกเจ้านายแต่งตั้ง
ไว้ในหน้าที่ให้ทาน เมื่อกาลทานปรากฏ เรามีความตระหนี่ครอบงำ
หลีกไปจากโรงทานทำเท้างอหงิก เมื่อควรจะให้ทานด้วยมือของตน
ไม่ได้ทำอย่างนั้น ทำมืองอหงิก เมื่อควรจะมีหน้าผ่องใส ก็ทำ
หน้าเบี้ยว. เมื่อควรจะแลดูด้วยตาอันน่ารักก็ทำให้เกิดนัยน์ตาทะเล้น
ออกมา เพราะฉะนั้น เราจึงมีนิ้วมือ นิ้วเท้างอหงิก และปากเบี้ยว
สยิ้วผิดรูป อธิบายว่า นัยน์ตาทั้ง 2 หลั่งน้ำตาออกมาไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด. เพราะเหตุนั้น เปรตจึงกล่าวว่า :-

เพราะกรรมนั้น มือของเราจึงงอหงิก
ปากเบี้ยว นัยน์ตาทั้ง 2 ของเราถลนออกมา
เพราะเราได้ทำกรรมชั่วนั่นไว้.

อังกุระพาณิชได้ฟังดังนั้น เมื่อจะติเตียนเปรต จึงกล่าวคาถา
ว่า :-
แน่ะบุรุษเลวทราม การที่ท่านมีปากเบี้ยว
นัยน์ตาทั้ง 2 ถลนออกมา เป็นการชอบแล้ว
เพราะท่านได้กระทำการบุ้ยปากต่อทานของผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ด้วยเหตุอันเหมาะสม
นั่นเอง. บทว่า เต แก้เป็น ตว แปลว่า ของท่าน. บทว่า กาปุริส
ได้แก่ บุรุษผู้เลวทราม. บทว่า ยํ แก้เป็น ยสฺมา แปลว่า เพราะเหตุใด.
บทว่า ปรสฺส ทานสฺส ได้แก่ ในทานของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง
บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
อังกุระพาณิชเมื่อจะติเตียนทานบดีเศรษฐีนั้นอีก จึงกล่าว
คาถาว่า :-
ก็ไฉน อสัยหเศรษฐีเมื่อจะให้ทาน จึงได้
มอบข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ ให้
ผู้อื่นจัดแจง.

คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ว่า บุรุษเมื่อจะให้ทาน
ไฉนเล่าจึงมอบให้คนอื่นจัดแจงทานนั้น คือกระทำให้ประจักษ์แก่ตน
นั่นแหละ แล้วพึงให้ด้วยมือของตนเอง. อนึ่ง ตนเองพึงเป็นผู้

ขวนขวายในทานนั้น เมื่อว่าโดยประการอื่น พึงกำจัดไทยธรรม
ในฐานะอันไม่ควร และไม่พึงให้พระทักขิไณยบุคคลเสื่อมจากทาน.
อังกุระพาณิชครั้นติเตียนทานบดีเศรษฐีอย่างนี้แล้ว เมื่อ
จะแสดงวิธีที่ตนจะพึงปฏิบัติ จึงกล่าว 2 คาถาว่า :-
ก็เราไปจากที่นี้ถึงทวารกนครแล้ว จัก
เริ่มให้ทานอันนำความสุขมาให้เราแน่แท้ เรา
จักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ สระน้ำ และ
สะพานในที่เดินลำบากให้เป็นทาน.

คำนั้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล. เพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ
ของอังกุระพาณิช พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงได้ตั้ง คาถา
4 คาถา ไว้ความว่า :-
ก็อังกุระพาณิชนั้นกลับจากทะเลทรายนั้น
ไปถึงทวารกนครแล้ว ได้เริ่มให้ทานอันนำความ
สุขมาให้ตน ได้ให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ
สระน้ำ ด้วยจิตอันเลื่อมใส. ช่างกัลบก พ่อครัว
ชาวมคธ พากันป่าวร้องในเรือนของอังกุระพาณิช
นั้น ทั้งเช้า ทั้งเย็น ทุกเมื่อว่า ใครหิวจงมากิน
ตามชอบใจ ใครกระหายจงมาดื่มตามชอบใจ
ใครจักนุ่งห่มผ้า จงนุ่งห่มผ้า ใครต้องการพาหนะ
สำหรับเทียม จงเทียมพาหนะในคู่แอกนี้ ใคร
ต้องการร่มจงเอาร่มไป ใครต้องการของหอมจง

เอาดอกไม้ไป ใครต้องการรองเท้าจงเอารองเท้า
ไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ได้แก่ จากทะเลทราย.
บทว่า นิวตฺติตฺวา แปลว่า กลับไปแล้ว. บทว่า อนุปฺปตฺวาน
ทฺวารกํ
แปลว่า ถึงทวารวดีนคร. บทว่า ทานํ ปฏฺฐปยิ องฺกุโร
ความว่า อังกุระพาณิชนั้น ผู้มีเรือนคลังทั้งสิ้นอันเทวบุตรให้บริบูรณ์
แล้ว เริ่มตั้งมหาทานอันเกื้อกูลแก่การเดินทางทุกอย่าง. บทว่า
ยํ ตุมสฺส สุขาวหํ ความว่า เพราะให้เกิดความสุขแก่ตนทั้งในบัดนี้
และในอนาคต.
บทว่า โก ฉาโต อธิบายว่า ใครหิว จงมากินตามความชอบใจ
แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตสิโต แปลว่า ผู้กระหาย.
บทว่า ปริทหิสฺสติ ความว่า จักนุ่งและจักห่ม. บทว่า สนฺตานิ
แปลว่า ถึงความสงบ. บทว่า โยคฺคานิ ได้แก่ พาหนะคือรถ. บทว่า
อิโต โยเชนฺตุ วาหนํ ความว่า จงถือเอาความพอใจจากพาหนะ
ที่เทียมด้วยตู่แอกนี้แล้วจงเทียมพาหนะ.
บทว่า โก ฉตฺติจฺฉติ ความว่า ใครต้องการร่มอันต่างด้วย
ร่มเสื่อลำแพนเป็นต้น. อธิบายว่า ผู้นั้นจงถือเอาไปเถิด. แม้ในบทที่
เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า คนฺธํ ได้แก่ ของหอมมีของหอม
อันประกอบด้วยชาติ 4 เป็นต้น. บทว่า มาลํ ได้แก่ ดอกไม้ที่
ร้อยและยังมิได้ร้อย. บทว่า อุปาหนํ ได้แก่ รองเท้าอันต่างด้วย
รองเท้าติดแผนหนังหุ้มส้นเป็นต้น. ศัพท์ว่า สุ ในคำว่า อิติสฺสุ

นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า ด้วยคำมีอาทิว่า ใครหิว ใครกระหาย
ด้วยประการฉะนี้ คือ อย่างนี้. บทว่า กปฺปกา ได้แก่ ช่างกัลบก.
บทว่า สูทา ได้แก่ พ่อครัว. บทว่า มาคธา ได้แก่ ชาวมคธ.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า สทา ความว่า ป่าวร้อง คือ โฆษณา
ในเรือนของอังกุระพาณิชนั้นทั้งเช้าทั้งเย็นตลอดเวลา คือ ทุกวัน.
เมื่ออังกุระพาณิชบำเพ็ญมหาทานอย่างนี้ เมื่อเวลาผ่านไป
โรงงานห่างเหินเงียบสงัดจากคนผู้ต้องการ เพราะเป็นผู้อิ่มหนำแล้ว.
อังกุระพาณิชเห็นดังนั้นจึงไม่พอใจ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยกว้าง
ขวางในการให้ทาน จึงเรียกมาณพชื่อว่า สินธกะผู้ขวนขวายใน
ทานของตนมาแล้วกล่าว 2 คาถาว่า :-
มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ดูก่อน
สินธกะ เรานอนเป็นทุกข์ เพราะไม่ได้เห็นพวก
ยาจก มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ก่อน
สินธกะ เรานอนเป็นทุกข์ในเมื่อวณิพกมีน้อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ สุปติ องฺกุโร อิติ ชานาติ
มํ ชโน
ความว่า มหาชน ยกย่องเราอย่างนี้ว่า พระเจ้าอังกุระ
เพียบพร้อมไปด้วยยศโภคะ เป็นทานบดี ย่อมบรรทมเป็นสุข
คือ เข้าถึงความนิทราโดยความสุขทีเดียว ตื่นบรรทมก็เป็นสุข
ด้วยโภคสมบัติและทานสมบัติของพระองค์. บทว่า ทุกฺขํ สุปามิ
สินฺธก
ความว่า ดูก่อนสินธกะมาณพ ก็เราย่อมนอนเป็นทุกข์
อย่างเดียว. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะ

เราไม่เห็นพวกยาจก, อธิบายว่า เพราะเหตุที่เรา ยังไม่เห็นพวก
ยาจกเป็นอันมาก ผู้จะรับไทยธรรม อันสมควรแก่อัธยาศัยของเรา.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า อปฺปเก สุ วณิพฺพเก ความว่า
เราหลับเป็นทุกข์ ในเมื่อวณิพกชนมีน้อยคือ 2-3 คน. ก็ศัพท์ว่า
สุ เป็นเพียงนิบาต, อธิบายว่า เมื่อวณิพกชนมีน้อย.
สินธกะมาณพ ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีความประสงค์จะกระทำ
อังกุระพาณิชนั้นให้น้อมไปในทานอันยิ่ง ให้ปรากฏจึงกล่าวคาถา
ว่า :-
ถ้าท้าวสุกกะ เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์
และเป็นใหญ่กว่าชาวโลกทั้งปวง พึงให้พรท่าน
ท่านเมื่อจะเลือก พึงเลือกเอาพรเช่นไร.

คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายดังนี้ :- ท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่
กว่าเทพชั้นดาวดึงส์ และกว่าชาวโลกทั้งมวล หากจะพึงให้พรท่าน
ว่าอังกุระ ท่านจงขอพรอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ท่านตั้งใจไว้ ท่าน
เมื่อจะขอพร คือเมื่อปรารถนา พึงขอพรเช่นไร
ลำดับนั้นอังกุระพาณิช เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตน
ตามความเป็นจริง จึงได้กล่าวคาถา 2 คาถาว่า :-
ถ้าท้าวสุกกะ ผู้เป็นใหญ่กว่าเทพชั้นดาว
ดึงส์ พึงให้พรแก่เราไซร้ เราจะพึงขอพรว่า เมื่อ
เราลุกขึ้นแต่เช้า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ขอ
ภัตตาหารอันเป็นทิพย์ และพวกยาจกผู้มีศีล พึง

ปรากฏ เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป ครั้น
เราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง
เมื่อกำลังให้อยู่ พึงยังจิตให้เลื่อมใส ข้าพเจ้าพึง
ขอพรกะท้าวสุกกะอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลุฏฺฐิตสฺส เม สโต ความว่า
เมื่อข้าพเจ้าลุกขึ้นในเวลาเช้า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความเพียร คือ
ความหมั่นด้วยอำนาจสามีจิกรรม มีการนอบน้อมและการปรนนิบัติ
เป็นต้น ต่อพระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ. บทว่า
สูริยุคฺคมนํ ปติ แปลว่า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นไป. บทว่า ทิพฺพา
ภกฺขา ปาตุภเวยฺยุํ ความว่า อาหารอันนับเนื่องในเทวโลก พึง
เกิดขึ้น. บทว่า สีลวนฺโต จ ยาจกา ความว่า และพวกยาจก
พึงเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม.
บทว่า ททโต เม น ขีเยถ ความว่า ก็เมื่อเราให้ทานแก่ผู้ที่
มาแล้ว ๆ ไทยธรรมย่อมไม่สิ้นไป คือ ไม่ถึงความหมดเปลือง.
บทว่า ทตฺวา นานุปเตยฺยหํ ความว่า ก็เพราะเหตุนั้น เราให้ทาน
นั้นแล้ว เห็นคนบางคนไม่มีความเลื่อมใส จึงไม่เดือดร้อน ในภายหลัง.
บทว่า ททํ จิตฺตํ ปสาเทยฺยํ ความว่า เมื่อเราให้อยู่ เราก็พึงทำจิต
ให้เลื่อมใส คือเราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วนั่นแหละ พึงให้ทาน. บทว่า
เอตํ สกฺกํ วรํ วเร ความว่า เราพึงขอพรกะท้าวสักกะจอมเทพ
5 อย่างนี้คือ ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค ความสมบูรณ์ด้วย
ไทยธรรม ความสมบูรณ์ด้วยพระทักขิไณยบุคคล ความสมบูรณ์

ด้วยไทยธรรมหาประมาณมิได้ และความสมบูรณ์ด้วยทายก.
ก็ในพร 5 ประการนี้ ด้วยคำว่า เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า นี้ ชื่อว่า
ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค, ด้วยคำว่า ภัตตาหารอันเป็นทิพย์
พึงปรากฏนี้ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยไทยธรรม ด้วยคำว่า และ
ยาจกพึงเป็นผู้มีศีลนี้ ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยทักขิโณยบุคคล
ด้วยคำว่า เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป นี้ ชื่อว่า ความ
สมบูรณ์ด้วยไทยธรรมหาประมาณมิได้ ด้วยคำว่า ครั้นเราให้ทาน
แล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกำลังให้พึงทำจิตให้เลื่อมใส
นี้ ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยทายก รวมความว่า อังกุระพาณิช
ปรารถนาประโยชน์ 5 ประการ โดยความเป็นพร. ก็ประโยชน์
5 ประการนั้นแล พึงทราบว่ามีไว้เพียงเพื่อความยิ่งใหญ่แห่งบุญ
อันสำเร็จด้วยทานนั่นเอง.
เมื่ออังกุระพาณิช ประกาศอัธยาศัยของตนอย่างนี้ ชาย
คนหนึ่ง ชื่อว่า โสนกะ ผู้มีความเชี่ยวชาญในนิติศาสตร์ นั่งอยู่ใน
ที่นั้น เป็นผู้ให้ทานเกินประมาณ มีความประสงค์จะตัดทานนั้น
จึงได้กล่าวคาถา 2 คาถาว่า :-
บุคคลไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้ง
หมด แก่บุคคลอื่น ควรให้ทาน และควรรักษา
ทรัพย์ไว้ เพราะว่าทรัพย์เท่านั้น ประเสริฐกว่า
ทาน ตระกูลทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการ
ให้ทานเกินประมาณไป บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญ

การไม่ให้ทาน และการให้ท่านเกินควร เพราะ
เหตุผลนั้นแล ทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน
บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม ควร
ประพฤติ โดยพอเหมาะ.

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สินธกมาณพมีความประสงค์
จะทดลองอย่างนี้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ทั้งหมด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวิตฺตานิ ได้แก่ อุปกรณ์แก่
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมด ชนิดสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณก-
ทรัพย์ อธิบายว่า ทรัพย์. บทว่า ปเร แก้เป็น ปรมฺหิ แก่บุคคลอื่น,
อธิบายว่า ปรสฺส แก่คนอื่น. บทว่า น ปเวจฺเฉ แปลว่า ไม่พึงให้
อธิบายว่า ไม่ควรทำการบริจาคทรัพย์ทั้งหมดไม่เหลืออะไรไว้
โดยคิดว่า เราได้พระทักขิไณยบุคคล. บทว่า ทเทยฺย ทานญฺจ
ความว่า ไม่ควรให้ นามธรรม โดยประการทั้งปวง คือ โดยที่แท้
ครั้นรู้ความเจริญและความเสื่อมของตนแล้ว พึงให้ทานอันเหมาะสม
แก่สมบัติ. บทว่า ธนญฺจ รกฺเข ความว่า พึงรักษาทรัพย์ไว้
ด้วยอำนาจ การได้ทรัพย์ที่ยังไม่ได้ รักษาทรัพย์ที่ได้ไว้แล้ว และ
ควบคุมทรัพย์ที่รักษาไว้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะทานนั้นซึ่งมีทรัพย์
นั้นเป็นมูลเหตุ บุคคลพึงรักษาทรัพย์ตามวิธีที่กล่าวไว้ว่า :-
พึงใช้บริโภคส่วน 1 พึงประกอบการงาน
2 ส่วน และพึงเก็บทรัพย์ส่วนที่ 4 ไว้ ในเมื่อ

อันตรายจักมี.
จริงอยู่ นักกฎหมายคิดว่า พึงเสพทางทั้ง 3 โดยทำทุก ๆ ส่วน
ให้หมดจด. บทว่า ตสฺมา หิ ความว่า ก็เมื่อจะรักษาทรัพย์ และ
บำเพ็ญทาน ชื่อว่า ดำเนินไปตามทาน ซึ่งมีทรัพย์เป็นมูลเหตุ
เพื่อประโยชน์แก่โลกทั้ง 2 เพราะฉะนั้น ทรัพย์เท่านั้น จึงประเสริฐ
คือ ดีกว่าทาน เพราะเหตุนั้น จึงอธิบายว่า ไม่พึงทำทานเกินควร.
ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตระกูลทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะให้ทานเกินควร, อธิบายว่า เพราะไม่รู้ประมาณของทรัพย์
อาศัยทรัพย์นั้นให้ทาน ตระกูลจึงตั้งอยู่ไม่ได้ คือ เป็นไปไม่ได้
ได้แก่ ขาดศูนย์ไปเพราะประสงค์ในการให้เกินควร.
บัดนี้ โสนกะบุรุษ เมื่อจะตั้งประโยชน์เฉพาะที่วิญญูชน
สรรเสริญ จึงกล่าวคาถาว่า บัณฑิตไม่สรรเสริญการไม่ให้ทาน
และการให้ทานเกินควรเป็นต้น. บรรดาบทเหล่นั้น บทว่า
อทานมติทานญฺจ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย คือผู้รู้ได้แก่ ผู้มีปัญญา
ย่อมไม่สรรเสริญ ย่อมไม่ชมเชยการไม่ให้ ภิกษาทัพที่หนึ่งก็ดี
ข้าวสารหยิบมือหนึ่งก็ดี โดยประการทั้งปวง และการให้เกินควร
กล่าวคือการบริจาคเกินประมาณ. จริงอยู่ ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้
เหินห่างจากประโยชน์ ในสัมปรายภพเพราะไม่ให้ทานโดยประการ
ทั้งปวง. ประเพณีในปัจจุบัน ย่อมไม่เป็นไป เพราะการให้ทาน
เกินควร. บทว่า สเมน วตฺเตยฺย ความว่า บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์
สมบูรณ์ด้วยธรรม ควรประพฤติด้วยญาณอันเป็นสายกลาง อัน

มั่นคง เหมาะแก่ทางโลก เป็นไปสม่ำเสมอ. ด้วยคำว่า ส ธีรธมฺโม
ท่านแสดงว่า ความเป็นไปแห่งการให้และการไม่ให้ ตามที่กล่าว
แล้ว อันใด อันนั้นจักเป็นธรรมคือ เป็นทางที่นักปราชญ์ผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญา ผู้ฉลาดในนิตินัย ดำเนินไปแล้ว
อังกุระพาณิช ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะเปลี่ยนแปลงความ
ประสงค์ของโสนกะบุรุษนั้น จึงประกาศวิธีที่ตนจะพึงปฏิบัติ
ด้วย 4 คาถาว่า :-
ดูก่อนชาวเราทั้งหลาย เอ๋ย ดีหนอ เรา
พึงให้ทานแล ด้วยว่าสัตบุรุษ ผู้สงบระงับ พึง
คบหาเรา เราพึงยังความประสงค์ ของวณิพก
ทั้งปวงให้เต็ม เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ เปรียบเหมือน
ฝนที่ยังที่ลุ่มทั้งหลายให้เต็ม ฉะนั้น สีหน้าของ
บุคคลใด ย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก
บุคคลนั้น ครั้นให้ทานแล้ว มีใจเบิกบาน ข้อนั้น
เป็นความสุขของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน สีหน้า
ของบุคคลใด ย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก
บุคคลนั้น ครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลาบปลื้มใจ
นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ ก่อนแต่ให้ก็มีใจ
เบิกบาน เมื่อกำลังให้ก็ยังจิตให้เลื่อมใส ครั้นให้
แล้วก็มีใจเบิกบาน นี้เป็นความถึงพร้อมแห่ง
ยัญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโห วต แปลว่า ดีหนอ. บทว่า
เร เป็นอาลปนะ. บทว่า อหเมว ทชฺชํ แก้เป็น อหํ ทชฺชเมว
แปลว่า เราพึงให้ทีเดียว. จริงอยู่ ในข้อนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้
ว่า ก่อนมาณพ ถ้าว่า วาทะของผู้ฉลาดในนิติศาสตร์นี้ จงมีแก่
ท่านว่า ทรัพย์เท่านั้นดีกว่าทาน ก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็พึงให้
โดยแท้. บทว่า สนฺโต จ มํ สปฺปุริสา ภเชยฺยุ ความว่า สัตบุรุษ
คือ คนดีทั้งหลาย ผู้สงบ คือ ผู้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร และ
มโนสมาจารสงบ พึงคบ คือ พึงเข้าถึงเรา ในเพราะทานนั้น.
บทว่า เมโฆว นินฺนานิ ปริปูรยนฺโต ความว่า น่าอัศจรรย์จริง
เราเมื่อยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม ชื่อว่า พึงยัง
วณิพกเหล่านั้น ให้เดือดร้อน เหมือนมหาเมฆ เมื่อยังฝนให้ตก
ชื่อว่า ยังที่ลุ่ม คือที่ต่ำ ให้เต็มฉะนั้น.
บทว่า ยสฺส ยาจนเก ทิสฺวา ความว่า เมื่อบุคคลใด คือ
ผู้ครองเรือน เห็นยาจกทั้งหลาย เกิดศรัทธาขึ้นว่า บุญเขต ปรากฏ
แก่เราหนอ เป็นอันดับแรก สีหน้าย่อมผ่องใส ครั้นให้ทานแก่ยาจก
เหล่านั้น ตามสมบัติแล้ว ย่อมเบิกบานใจ คือ ย่อมมีใจอันปีติและ
โสมนัสจับแล้ว. บทว่า ตํ ความว่า เป็นการเห็นยาจกในกาลใด
และเห็นยาจกเหล่านั้นแล้ว จิตย่อมเลื่อมใส และครั้นให้ทานตาม
สมควรแล้ว ย่อมเบิกบานใจ.
บทว่า เอสา ยญฺญสฺส สมฺปทา ความว่า นั้นเป็นความถึง
พร้อม คือ ความบริบูรณ์ ได้แก่ ความสำเร็จแห่งยัญญ์.

บทว่า ปุพฺเพว นานา สุมโน ความว่า บุคคล พึงเป็นผู้มี
ใจดี คือเกิดโสมนัส ตั้งแต่จัดแจงอุปกรณ์ทาน ก่อนแต่มุญจนเจตนา
ว่า เราจักฝังขุมทรัพย์อันเป็นเหตุติดตามตนไปได้. บทว่า ททํ
จิตฺตํ ปสาทเย ความว่า เมื่อให้ คือ เมื่อยังไทยธรรม ให้ตั้งอยู่ในมือ
ของพระทักขิไณยบุคคล พึงยังจิตของตนให้เลื่อมใสว่า เราจะยืดถือ
เอาสิ่งที่เป็นสาระ จากทรัพย์อันหาสาระมิได้. บทว่า ทตฺา อตฺตมโน
โหติ ความว่า ครั้นบริจาคไทยธรรม แก้พระทักขิไณยบุคคลแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีใจดี คือ มีความเบิกบานใจ ได้แก่ย่อมเกิดปีติและโสมนัส
ขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่า ทานที่บัณฑิตบัญญัติแล้ว เราก็ได้ดำเนินตามแล้ว,
โอ ช่างดีจริงหนอ. บทว่า เอสา ยญฺญสฺส สมฺปทา ความว่า
ความบริบูรณ์แห่งเจตนาทั้ง 3 อันโสมนัสกำกับแล้ว ซึ่งไปตาม
ความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมนี้คือ ปุพพเจตนา มุญจนเจตนา
และอปรเจตนานี้ใด นั้น เป็นสัมปทาแห่งยัญญ์ คือ ความถึงพร้อม
แห่งทาน อธิบายว่า ไม่ใช่เป็นไปโดยประการอื่นจากสัมปทานี้.
อังกุระพาณิช ครั้นประกาศวิธีปฏิบัติของตนอย่างนี้แล้ว
เป็นผู้มีอัธยาศัยในทานเจริญยิ่งขึ้น บำเพ็ญมหาทานทุก ๆ วัน
ให้เป็นไปโดยประมาณยิ่ง. เพราะเหตุนั้น ในกาลนั้น เมื่อทำ
รัชชสมบัติทั้งปวงให้เป็นดุจที่ดุจที่ดอนแล้ว ให้มหาทานเป็นไป มนุษย์
ทั้งหลายได้อุปกรณ์แห่งทานทั้งปวงแล้ว ละการงานของตน ๆ
เที่ยวไปตามความสุข. เพราะเหตุนั้น เรือนคลัง ของพระราชา
ทั้งหลาย จึงได้ต้องความสิ้นไป. ลำดับนั้น พระราชาทั้งหลาย

จึงได้ส่งทูตไปถึงอังกุระพาณิชว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยทาน
ความเจริญของพวกเราจึงได้พินาศไป. เรือนคลังทั้งหลาย จึง
ถึงความสิ้นไป พวกเราควรรู้เหตุอันสมควรในข้อนั้น ดังนี้แล.
อังกุระพาณิช ได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงไปยังทักขิณาปถชนบท
ให้ช่วยกันสร้างโรงทานมากมาย ขนาดใหญ่ ในที่ไม่ไกลแต่
มหาสมุทร ในที่อยู่ของพวกทมิฬ เมื่อให้มหาทานเป็นไปอยู่ ดำรง
อยู่จนสิ้นอายุ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป จึงบังเกิดในภพชั้น
ดาวดึงส์. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงสมบัติแห่งทาน
และการเข้าถึงสวรรค์ของอังกุระพาณิชนั้น จึงกล่าวคาถาทั้งหลาย
ว่า :-
ในเรือนของอังกุระพาณิช ผู้มุ่งบุญ
โภชนะอันเขาให้แก่หมู่ชนวันละ 60,000 เล่ม
เกวียนเป็นนิตย์ พ่อครัว 3,000 คน ประดับด้วย
ต่างหูอันวิจิตร ด้วยมุกดาและแก้วมณี เป็นผู้
ขวนขวายในการให้ทาน พากันเข้าไปอาศัย
อังกุระพาณิชเลี้ยงชีวิต, มาณพ 60,000 คน
ประดับด้วยต่างหูอันวิจิตรด้วยแก้วมุกดา และ
แก้วมณี ช่วยกันผ่าฟืน สำหรับหุงอาหาร ใน
มหาทานของอังกุระพาณิชนั้น พวกนารี 16,000
คน ประดับด้วยอลังการทั้งปวง ช่วยกันบดเครื่อง
เทศ สำหรับปรุงอาหาร ในมหาทาน ของอังกุระ

พาณิชนั้น นารีอีก 16,000 คน ประดับด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง ถือทัพพีข้าว ยืนคอยรับ
ใช้ในมหาทาน ของอังกุระพาณิชนั้น อังกุระ
พาณิชนั้น ได้ให้ของเป็นอันมาก แก่มหาชนโดย
ประการต่าง ๆ ได้ทำความเคารพและความยำ-
เกรง ในกษัตริย์ ด้วยมือของตนเองบ่อย ๆ ให้
ทานโดยประการต่าง ๆ สิ้นกาลนาน อังกุระ
พาณิช ยังมหาทานให้เป็นไปแล้ว สิ้นเดือน สิ้น
ปักษ์ สิ้นฤดู และปีเป็นอันมาก ตลอดกาลนาน
อังกุระพาณิช ได้ให้ทานและทำการบูชาแล้ว
อย่างนี้ ตลอดกาลนาน ละร่างกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.

มีวาจาประกอบความว่า บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺฐ
วาหสทสฺสานิ
ความว่า ในเรือนของอังกุระพาณิช ผู้มุ่งบุญ คือ
ผู้มีอัธยาศัยในทาน ได้แก่ ผู้มีใจน้อมไปในทาน โภชนะอันเขาให้แก่
หมู่ชน วันละ 60,000 เล่มเกวียน คือ 60,000 เล่มเกวียนที่บรรทุก
ของหอม ข้าวสาลี เป็นต้น เป็นนิตย์.
บทว่า ติสหสฺสานิ สูทา หิ ความว่า พ่อครัว คือ คนทำครัว
ประมาณ 3,000 คน ก็แล พ่อครัวเหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า
ผู้เป็นประธาน. ในบรรดาพ่อครัวเหล่านั้น บุคคลผู้กระทำตามคำ
ของพ่อครัวแต่ละคน พึงทราบว่า มากมาย. บาลีว่า ติสหสฺสานิ

สูทานํ ดังนี้ก็มี. บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่. ผู้ทรงไว้ซึ่ง
ต่างหูอันวิจิตรด้วยแก้วมณีต่าง ๆ . ก็บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา
นี้ เป็นเพียงอุทาหรณ์, พ่อครัวเหล่านั้น ได้มีเครื่องอาภรณ์ เช่น
แก้วมุกดา และสายรัดเอวที่ทำด้วยทองคำ เป็นต้น. บทว่า องฺกุรํ
อุปชีวนฺติ
ความว่า เข้าไปอาศัยอังกุระพาณิช เลี้ยงชีพ, อธิบาย
ว่า ผู้มีชีวิตเนื่องด้วยอังกุระพาณิชนั้น. บทว่า ทาเน ยญฺญสฺส
ปาวฏา
ความว่า เป็นผู้ขวนขวาย คือ ถึงความขวนขวายในการ
ประกอบทานแห่งยัญญ์ อันรู้กันว่า การบูชาใหญ่. บทว่า กฏฺฐํ
ผาเลนฺติ มาณวา
ความว่า พวกมนุษย์หนุ่ม ๆ ผู้ประดับตกแต่ง
แล้ว ช่วยกันผ่าคือ ช่วยกันตัดฟืน เพื่อหุงต้มอาหารพิเศษมี
ของเดียวและของบริโภค เป็นต้น มีประการต่าง ๆ.
บทว่า วิธา ได้แก่ เครื่องเผ็ดร้อนสำหรับปรุงอาหาร ที่จะ
พึงจัดแจง. บทว่า ปิณฺเฑนฺติ ได้แก่ ย่อมประกอบด้วยการบด.
บทว่า ทพฺพิคาหา แปลว่า ผู้ถือทัพพี. บทว่า อุปฏฺฐิตา
ความว่า เข้าไปยืนคอยรับใช้ ยังสถานที่รับใช้.
บทว่า พหุํ แปลว่า มาก คือ เพียงพอ. บทว่า พหูนํ แปลว่า
มากมาย. บทว่า ปาทาสิ แปลว่า ได้ให้โดยประการทั้งหลาย.
บทว่า จิรํ แปลว่า ตลอดกาลนาน. จริงอยู่ เขาเกิดในหมู่มนุษย์
ผู้มีอายุ 20,000 ปี. และเมื่อเขาให้ทานเป็นอันมาก แก่ชนเป็น
อันมาก ตลอดกาลนาน เพื่อจะแสดงประการที่เขาให้ทานจึงกล่าวว่า
สกฺกจฺจญฺจ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจํ

คือมีความเอื้อเฟื้อ ได้แก่ ไม่ได้ทอดทิ้ง คือ ไม่ดูหมิ่น. บทว่า
สหตฺถา แปลว่า ด้วยมือของตน ไม่ใช่ถูกบังคับ. บทว่า จิตฺตีกตฺวา
ความว่า กระทำ คือบูชาด้วยจิต อันประกอบด้วยความเคารพ และ
ความนับถือมาก. บทว่า ปุนปฺปุนํ ได้แก่โดยส่วนมาก คือไม่ใช่
คราวเดียว. มีวาจาประกอบความว่า ไม่ได้กระทำ 2-3 วาระ
ได้ให้ตั้งหลายวาระ.
บัดนี้ เพื่อจะประกาศการการทำบ่อย ๆ นั้นนั่นแล พระ-
สังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า พหู มาเส จ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหู มาเส ได้แก่สิ้นหลายเดือนมี เดือน
จิตตะ เป็นต้น. บทว่า ปกฺเข ได้แก่ สิ้นปักษ์เป็นอันมาก ต่างด้วย
กัณหปักษ์และสุกกปักษ์. บทว่า อุตุสํวจฺฉรานิ ความว่า สิ้นฤดู
และปีเป็นอันมาก เช่น วสันต์และคิมหันต์ เป็นต้น บทว่า
อุตุสํวจฺฉรานิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถอัจจันตสังโยคะ.
บทว่า ทีฆมนฺตรํ แปลว่า สิ้นระยะกาลนาน. ก็ในข้อนี้ เพื่อจะ
กล่าวถึงความที่ทานเป็นไปตลอดกาลนานว่า ท่านได้ให้จลอดกาลนาน
แล้วจึงแสดงว่า ทานนั้นเป็นไปไม่ขาดระยะทีเดียวอีก พึงเห็นว่า
ท่านกล่าวว่า พหู มาเส ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า เอวํ แปลว่า โดยประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า ทตฺวา
ยชิตฺวา จ
โดยเนื้อความก็เป็นบทเดียวกันนั่นแหละ, อธิบายว่า
ได้ให้ด้วยอำนาจการบริจาคไทยธรรมบางอย่าง แก่พระทักขิไณย-
บุคคลบางพวก และเมื่อให้ตามกำลังแก่ชนทั้งปวงผู้มีความต้องการ

โดยนัยดังกล่าวแล้วว่า ได้ให้สิ่งของเป็นอันมาก แก่ชนเป็นอันมาก
บูชาด้วยอำนาจการบูชาอย่างใหญ่. บทว่า โส หิตฺวา มานุสํ
เทหํ ตาวตึสูปโค อหุ
ความว่า ในเวลาสิ้นอายุ อังกุระพาณิชนั้น
ละอัตภาพมนุษย์ไปบังเกิดเป็นเทพนิกาย ในภพชั้นดาวดึงส์
โดยการถือปฏิสนธิ.
เมื่ออังกุระเทพบุตรนั้น บังเกิดในภพชั้นดาวดึงส์ เสวย
ทิพยสมบัติอย่างนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย
อินทกะมาณพ เมื่อท่านพระอนุรุทธเถระเที่ยวบิณฑบาต มีจิต
เลื่อมใส ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง. สมัยต่อมาเขาทำกาละแล้ว
บังเกิดเป็นเทพบุตร ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ในภพชั้นดาวดึงส์
ด้วยอานุภาพแห่งบุญอันเป็นเขต ไพโรจน์ล่วงครอบงำอังกุระ
เทพบุตร ด้วยฐานะ 10 มีรูปเป็นต้น อันเป็นทิพย์. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า .
อินทกะมาณพ ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง
แก่พระอนุรุทธเถระ ละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้
ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ แต่อินทกะเทพบุตร
รุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุระเทพบุตร โดยฐานะ 10
อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ อายุ ยศ วรรณะ สุขะ และความ
เป็นใหญ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูเป ความว่าเป็นเหตุแห่งรูป
คือ เป็นนิมิตแห่งความเกิดขึ้นแห่งรูป. แม้ในบทว่า อายุนา แปลว่า
ด้วยชีวิต. ก็ชีวิตของเทวดาทั้งหลาย ท่านกล่าวมีกำหนดเป็น
ประมาณมิใช่หรือ ? ท่านกล่าวจริง. แต่ชีวิตนั้นท่านกล่าวไว้โดย
ส่วนมาก. จริงอย่างนั้น เทวดาบางเหล่า ย่อมมีการตายในระหว่าง
ทีเดียว เพราะความวิบัติแห่งความพยายามเป็นต้น. ส่วนอินทก-
เทพบุตร ยัง 3 โกฏิ 6 ล้านปีให้บริบูรณ์เท่านั้น. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมไพโรจน์ล่วงด้วยอายุ. บทว่า ยสสา ได้แก่
สมบูรณ์ด้วยบริวารใหญ่. บทว่า วณฺเณน ความว่า ด้วยความ
สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง. แต่ความสมบูรณ์ด้วยวรรณธาตุ ท่าน
กล่าวไว้ด้วยบทว่า รูเป ดังนี้นั่นเอง. บทว่า อาธิปจฺเจน แปลว่า
ด้วยความเป็นใหญ่.
เมื่ออังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตร บังเกิดในภพชั้น
ดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย
ทรงกระทำยมกปาฏิหาร ณ โคนแห่งคัณฑามพฤกษ์ ที่ประตูแห่ง
กรุงสาวัตถี ในวันอาสาฬหปุณณมี ในปีที่ 7 แต่กาลตรัสรู้
เสด็จไปยังภพชั้นดาวดึงส์ โดอย่างก้าวไป 3 ก้าวโดยลำดับ ทรง
ครอบงำความรุ่งเรื่องของเทวพรหมบริษัท ผู้ประชุมกันด้วย
โลกธาตุ ณ บัณฑุกมพลศิลาอาสน์ ที่ควงต้นปาริฉัตตกะ ด้วย
รัศมีพระสรีระของพระองค์ เหมือนพระสุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ
เหนือเขายุคนธรรุ่งเรื่องอยู่ฉะนั้น ประทับทั่งแสดงอภิธรรม

ทอดพระเนตรเห็นอินทกเทพบุตรผู้นั่งอยู่ในที่ไม่ไกล และอังกุร-
เทพบุตรผู้นั่งอยู่ในระยะ 12 โยชน์ เพื่อจะประกาศความสมบูรณ์
แห่งพระทักขิไณยบุคคล จึงตรัสพระคาถาว่า :-
ดูก่อนอังกุระ มหาทานท่านได้ให้แล้ว
สิ้นกาลนาน ท่านมาในสำนักของเรา ไฉนจึงนั่ง
อยู่ไกลนัก.

อังกุรเทพบุตร ได้ฟังดังนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า มหาทานอันข้าพระองค์บริจาคไทยธรรมเป็นอันมาก
บำเพ็ญมาตลอดกาลนาน ก็ไม่ได้มีผลยิ่ง เพราะเว้นจากทักขิไณย
สมบัติ เหมือนพืชที่หว่านลงในนาที่ไม่ดี ฉะนั้น แต่แม้การให้ภิกษา
ทัพพีหนึ่งของอินทกเทพบุตร สงมีผลมากยิ่งนัก เพราะสมบูรณ์ด้วย
พระทักขิไณยบุคคล เหมือนพืชที่หว่านในนาดี. ฉะนั้น พระสังคีติ-
กาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงความนั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า :-
ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ
ประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้น
ปาริฉัตตกพฤกษ์ ณ ภพดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทวดา
ในหมื่นโลกธาตุ พากันมานั่งประชุมกันเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา เทวดา
ไร ๆ ไม่รุ่งโรจน์เกินกว่าพระสัมพุทธเจ้าด้วย
รัศมี พระสัมพุทธเจ้าเท่านั้นย่อมรุ่งโรจน์ร่วง
เทวดาทั้งปวง ครั้งนั้น อังกุรเทพบุตรนี้นั่งอยู่ไกล

12 โยชน์ จากที่พระพุทธเจ้าประทับ ส่วน
อินทกเทพบุตรนั่งในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า
รุ่งเรืองกว่าอังกุรเทพบุตร พระสัมพุทธเจ้าทอด
พระเนตรเห็นอังกุรเทพบุตรกับอินทกเทพบุตร
แล้ว เมื่อจะทรงประกาศทักขิไณยบุคคล จึงได้
ตรัสพระพุทธพจน์นี้ความว่า ดูก่อนอังกุรเทพ-
บุตร มหาทานท่านให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาสู่
สำนักเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก. อังกุรเทพบุตร
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้ว
ทรงตักเตือนแล้ว ได้กราบทูลว่า จะประสงค์
อะไร ด้วยทานของข้าพระองค์นั้นอันว่างเปล่า
จากพระทักขิไณยบุคคล อินทกเทพบุตรนี้นั้น
ให้ทานนิดหน่อย รุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์ ดุจ
พระจันทร์ในหมู่ดาว ฉะนั้น.

อังกุรเทพบุตรทูลว่า :-
พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน
ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังชาวนาให้ปลื้มใจ
ฉันใด ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ในบุคคล
ผู้ทุศีลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีผลไพบูลย์
ทั้งไม่ยังทายกให้ปลื้มใจ พืชแม้น้อยอันบุคคล
หว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำ

เสมอ ผลย่อมยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ แม้ฉันใด
ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้วในท่านผู้มีศีล
ผู้มีคุณความดี ผู้คงที่ ย่อมมีผลมาก ฉันนั้น
เหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาวตีเส ได้แก่ ในภพดาวดึงส์.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า สิลายํ ปณฺฑุกมฺพเล ความว่า
ในคราวที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับอยู่ ณ บัณฑุกัมพล-
ศิลาอาสน์.
บทว่า ทสสุ โลกธาตูสุ สนฺนิปติตูวาน เทวตา ความว่า
กามาวจรเทวดา และพรหมเทวดาในหมื่นจักรวาฬ อันรู้กันว่า
ชาติเขต ได้พากันมาประชุมเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพื่อ
ฟังธรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า พากันมาเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา อธิบายว่า บนยอดเขาสิเนรุ.
บทว่า โยชนานิ ทส เทฺว จ องฺกุโรยํ ตทา อหุ ความว่า
ในกาลนั้น คือในเวลาพร้อมพระพักตร์พระศาสดา อังกุรเทพบุตร
ผู้มีจริตตามที่กล่าวแล้วนี้ ได้อยู่ระยะไกล 12 โยชน์ อธิบายว่า
ได้นั่งอยู่ในที่ระยะไกล 12 โยชน์ แต่ที่ที่พระศาสดาประทับ.
บทว่า โจทิโต ภาวิตฺตเตน ความว่า ผู้อันพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้วด้วยอริยมรรคภาวนาที่ทรง
อบรมไว้อย่างยอดเยี่ยม ตักเตือนแล้ว. คาถามีอาทิว่า จะประสงค์
อะไรด้วยทานของข้าพระองค์ ดังนี้ เป็นคาถาที่อังกุรเทพบุตร

ทูลแด่พระศาสดา โดยเป็นคำโต้ตอบ. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยน สุญฺญตํ
ความว่า เพราะในกาลนั้น ทานของข้าพระองค์ ว่าง เปล่า คือ เว้น
จากพระทักขิไณยบุคคล ฉะนั้น อังกุรเทพบุตรจงกล่าวดูแคลน
บุญทานของตนว่า จะประสงค์อะไรด้วยทานของข้าพระองค์นั้น.
บทว่า ยกฺโข ได้แก่ เทพบุตร. บทว่า ทชฺชา กล่าวว่า
ให้แล้ว. บทว่า อติโรจติ อมฺเหหิ ความว่า ย่อมรุ่งเรืองยิ่งนัก
กว่าบุคคลผู้เช่นกับตน. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า หิ เป็นเพียงนิบาต.
อธิบายว่า ย่อมไพโรจน์ร่วง คือ ครอบงำเรา . เพื่อจะหลีกเลี่ยง
คำถามว่า เหมือนอะไร อังกุรเทพบุตรจงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์
ในหมู่ดาว.
บทว่า อุชฺชงฺคเล ได้แก่ ในภูมิภาคอันแข็งยิ่งนัก. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ในภูมิภาคอันสูง. บทว่า โรปิตํ แปลว่า อันเขา
หว่านแล้ว คือ หว่านหรือถอนแล้วปลูกอีก. บทว่า นปิ โตเสติ
แปลว่า ย่อมไม่ปลาบปลื้มใจ หรือไม่ยังความยินดีให้เกิด เพราะ
มีผลน้อย. บทว่า ตเถว ความว่า พืชเป็นมากที่เขาหว่านไว้ใน
นาดอน ย่อมไม่ไม่ผลไพบูลย์ คือไม่มีผลมาก ทั้งไม่ยังชาวนา
ให้ปลาบปลื้มใจฉันใด ทานแม้เป็นอันมากก็ฉันนั้น ที่บุคคลตั้งไว้
ในบุคคลทุศีล คือผู้เว้นจากศีล ย่อมไม่มีผลไพบูลย์ คือไม่มีผลมาก
ทั้งไม่ทำให้ทายกปลาบปลื้มใจ
สองคาถาว่า ยถาปิ ภทฺทเก เป็นต้น พึงทราบอรรถโยชนา
โดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. ในบทเหล่านั้น บทว่า

สมฺมาธารํ ปเวจฺฉนฺเต ความว่า เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำเสมอ
คือ เมื่อฝนตกทุกกึ่งเดือน ทุก 10 วัน ทุก 5 วัน. บทว่า คุณวนฺเตสุ
ได้แก่ ในบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีฌานเป็นต้น. บทว่า ตาทิสุ
ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น.
บทว่า การํ ท่านกล่าวด้วยลิงควิปลาศ อธิบายว่า อุปการะ. เพื่อ
จะหลีกเลี่ยงคำถามว่า อุปการะคืออะไร อังกุรเทพบุตรจึงกล่าวว่า
คือ บุญ.
พระสังคีติกาจารย์ได้ตั้งคาถานี้ไว้ว่า :-
บุคคลถึงเลือกให้ทานในเขตที่ให้แล้ว
มีผลมาก ทายกทั้งหลายครั้นเลือกให้ทานแล้ว
ย่อมไปสวรรค์ การเลือกให้ทานพระสุคตทรง
สรรเสริญ พระทักขิไณยบุคคลเหล่าใด มีอยู่ใน
ชีวโลกนี้ ทานที่ทายกให้แล้วในพระทักขิไณย-
บุคคลเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่าน
ไว้ในนาดี ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเจยฺย แปลว่า พึงเลือก คือ
พึงใคร่ครวญถึงบุญเขตด้วยปัญญา. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่าย
ทั้งนั้นแล.
เรื่องอังกุรเปรตนี้นั้นพระศาสดาทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์
เอง โดยนัยมีอาทิว่า มหาทานอันท่านให้แล้วดังนี้ เพื่อจะทรงประกาศ
ความสมบูรณ์ แห่งพระทักขิไณยบุคคลข้างหน้าแก่เทวดาในหมื่น

จักรวาฬ ในภพดาวดึงส์ พระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมในภพ
ดาวดึงส์นั้น 3 เดือน ในวันมหาปวารณา ทรงแวดล้อมแล้วหมู่เทพ
เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เสด็จจากเทวโลกลงสู่สังกัสนคร เสด็จถึงกรุง
สาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เพื่อจะทรง
ประกาศความสมบูรณ์แห่งพระทักขิไณยบุคคล ในท่ามกลาง
บริษัท 4 จึงทรงแสดงโดยพิสดาร โดยนัยมีอาทิว่า เราไปเพื่อ
ประโยชน์แก่ผู้ใด. จึงยืดเอายอดเทศนา คือ จตุสัจจกถา. ในเวลา
จบเทศนา สัตว์หลายพันโกฏิเหล่านั้น ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว แล.
จบ อรรถกถาอังกุรเปตวัตถุที่ 9

10. อุตตรมาตุเปติวัตถุ



ว่าด้วยลูกให้ทานไม่พอใจตายเป็นเปรต



[107] นางเปรตมีผิวพรรณน่าเกลียดน่ากลัว
มีผมยาวห้อยลงมาจดพื้นดิน คลุมตัวด้วยผม เข้า
ไปหาภิกษุอยู่ในที่พักกลางวัน นั่งอยู่ริมฝั่ง
แม่น้ำคงคา ได้กล่าวกะภิกษุนั้นดังนี้ว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ดิฉันตั้งแต่ตายมาจากมนุษยโลก
ยังไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย ตลอดเวลา
55 ปีแล้ว ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่ดิฉันผู้กระหาย
น้ำด้วยเถิด.

ภิกษุนั้นกล่าวว่า
แม่น้ำคงคามีน้ำเย็นใสสะอาด ไหลมาแต่
เขาหิมพานต์ ท่านจงตักเอาน้ำจากแม่น้ำคงคานั้น
ดื่มเถิด จะมาขอน้ำกะเราทำไม.

นางเปรตกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำ
คงคานี้เองไซร้ น้ำนั้นย่อมกลับกลายเป็นเลือด
ปรากฏแก่ดิฉัน เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอน้ำแก่
ท่าน.